วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์

                            พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์


ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ในขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนาธรรม

ท่ามกลางพุทธบริษัทสี่จำนวนมากอยู่นั้น พระองค์ทรงตรัสว่า “วันนี้พวกเราโชคดี

ที่ได้มีพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ (พระแม่กวนอิม) เสด็จมาร่วมฟังธรรมด้วย”

เมื่อนั้นพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ก็ทรงเปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทั้งทศทิศ

สมณสงฆ์พร้อมสาธุชนซึ่งมาร่วมฟัง พระธรรมเทศนาแห่งพระบรมศาสดา

จึงเห็นพระรัศมีแห่งพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ เสมือนพระองค์มีพันกร

พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ทรงเปล่งวาจา ขอให้พระพุทธศาสนายั่งยืนเป็น

หมื่นปี โดยพระองค์จะสร้างพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ถวายเป็น

พุทธบูชาธรรมบูชา แด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ด้วยเหตุดังกล่าวประกอบกับปณิธานของ พระเดชพระคุณพระอาจารย์ใหญ่

เสกกวงเซง ที่ต้องการเทิดทูน สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ

ต้องการสนองเบื้องพระยุคลบาทในพระมหากรุณาธิคุณ แห่งพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวผู้ซึ่งเปี่ยมไปด้วยพระมหาเมตตา พระบารมีมากล้นรำพัน ท่านจึง

มีดำริสร้างพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์บนที่ดิน ฝั่งตรงข้าม

พระตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4 ในปี พ.ศ. 2529 เพื่อเป็นศาสนสถาน

อันศักดิ์สิทธิ์ถวายแด่พระพุทธองค์บนผืนแผ่นดินไทย ให้ทั่วโลกเดินทาง

มากราบไว้

ถึงแม้ว่าพระเดชพระคุณพระอาจารย์ใหญ่เมี่ยวซ่านจะให้ท่านสร้างพระมหาเจดีย์

พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ที่เมืองจีนก็ตาม พระเดชพระคุณพระอาจารย์ใหญ่

เสกกวงเซงเคยกล่าวไว้ว่า คนจีนหลายต่อหลายคน บอกว่า...............ท่านคือคนจีน

คือลูกหลานจีน ท่านไม่อาจปฏิเสธได้ว่าท่านมี เชื้อสายจีน แต่หากว่าท่านเกิด

เมืองไทย ท่านคือคนไทย ท่านโชคดีเหลือเกินที่ ท่านเกิดมาบนผืนแผ่นดินไทย

ที่ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ผู้เปี่ยมด้วยพระเมตตา

ฉะนั้นพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ ต้องเกิดขึ้นที่นี่ ชีวิตนี้ท่านดีใจ

ที่ได้เกิดมารับใช้พระพุทธศาสนา ได้มาสร้างประโยชน์ให้แก่พระศาสนา ซึ่งได้สร้าง

ความภาคภูมิใจกว่าการมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย ชีวิตนี้ท่านขออุทิศให้แก่

พระพุทธศาสนาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้กราบไหว้บูชา

สำหรับการก่อสร้างพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ ได้มีการวางศิลาฤกษ์

ในวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แล้ว

การก่อสร้างได้ดำเนินไปตามขั้นตอน โดยมีพระเดชพระคุณพระอาจารย์เสริมศักดิ์

อธิปัญโญ ได้กรุณามาช่วยดูแลการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด อีกทั้งนักบวชมหายานทุกรูป

นำโดยพระเดชพระคุณพระอาจารย์ใหญ่เสกกวงเซง และคณะกรรมการมูลนิธิศิษย์

พระแม่กวนอิม รวมถึงสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาอีกหลายท่านร่วมกันลงมือ ลงแรง ร่วมใจ

กันก่อสร้างพระมหาเจดีย์แห่งนี้ จนถึงขั้นตอนของการขุดหน้าดิน เพื่อที่จะทำฐานรากและชั้นใต้ดินของ

องค์พระมหาเจดีย์ฯ

ได้มีสิ่งอัศจรรย์เกิดขึ้นคือ การขุดดินจากผิวดิน

ลึกลงไปถึง 8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เมตร แต่ไม่มีน้ำซึม

ออกมาจากใต้ดินเลยแม้แต่น้อย

ในขณะเดียวกันภายนอกบริเวณพระมหาเจดีย์ฯ ได้มีการขุดคลอง ลึกลงไปเพียง 2 เมตร
แต่กลับมีน้ำไหลออกมาจากชั้นใต้ดินเป็นจำนวนมาก และความอัศจรรย์ในครั้งนั้น จึงทำให้การก่อสร้างพระมหาเจดีย์ฯ ได้รับความสะดวกอย่างมาก เพราะไม่ต้องคอยสูบน้ำ ไม่ต้องใช้เครื่องมือกันดินไหล ทำให้ประหยัดเงินในการก่อสร้างได้อย่างมากตามปกติในการก่อสร้างอาคารสูงจะต้องใช้ทาวเวอร์เครนเพื่อลำเลียงสิ่งของวัสดุต่าง ๆ ในการก่อสร้าง แต่การก่อสร้างพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์นี้ใช้ลิฟท์ต่อขึ้นไป ทีละชั้นสำหรับลำเลียงวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ยิ่งพระมหาเจดีย์ฯ สร้างสูงขึ้นเท่าไหร่ก็ต้องต่อลิฟท์สูงขึ้นเท่านั้น นับได้ว่าเป็นการ รวมพลังของกลุ่มคนอันใช้แรงกายแรงใจ ในการขนอิฐ ขนปูน ขนทราย กว่าจะได้ทีละชั้นต้องอดทนและใช้ความพยายามอย่างมาก

เป็นคติธรรมหนึ่งที่พระเดชพระคุณพระอาจารย์ใหญ่ ใช้สอนลูกหลานและลูกศิษย์ทั้งหลายว่า ตราบใดที่เรา มีความศรัทธา ความมุ่งมั่น และความสามัคคี เราจะสามารถเอาชนะทุกอุปสรรคที่กางกั้นและประสพความสำเร็จได้ในที่สุด ในทางกลับกันหากเราไม่มีความศรัทธา ความมุ่งมั่น ความสามัคคี ถึงแม้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะให้พรเราสักเพียงใด หนทางสู่ความสำเร็จนั้น มันก็ช่างดูเลือนราง

              จากเขตที่รกชัฏกลายเป็นที่ที่ราบเรียบ

         จากฝุ่นผงปูนทรายกลายเป็นซีเมนต์ที่แข็งแกร่ง
    
    จากอิฐแต่ละก้อนกลายเป็นกำแพงที่มั่นคงมหึมา

  จากหลายร้อยดวงใจกลายเป็นพระมหาเจดีย์ฯ อันศักดิ์สิทธิ์

ในที่สุด การก่อสร้างพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ก็เสร็จสมบูรณ์

งดงาม จากผืนดินว่างเปล่ากลายมาเป็นพระมหาเจดีย์ฯ อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่

ประดิษฐานพระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ และพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์

(อวโลกิเตศวร) พันกรพันเนตร สูง 8.30 เมตร แกะสลักด้วยไม้จันทน์หอมจาก

ประเทศจีนปิดด้วยทองคำแท้ มีพระพักตร์ 20 พระพักตร์ จำนวน 4 องค์ นอกจาก

นี้ โดยรอบพระมหาเจดีย์ฯ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และเทวรูปพระโพธิสัตว์

เทพ เซียนต่าง ๆ แกะสลักจากหินหยกขาวจากประเทศจีนมากกว่า 300 องค์

พระมหาเจดีย์ฯ แห่งนี้ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธบริษัท และมหาชนจากทั่วทุก

สารทิศที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาในองค์พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์

(อวโลกิเตศวร)

กล่าวได้ว่าอิฐทุกก้อน ส่วนประกอบทุกส่วนล้วนหล่อหลอมมาจากความมุ่งมั่น

อันแรงกล้าของพระเดชพระคุณพระอาจารย์ใหญ่ เสกกวงเซง พร้อมด้วย

นักบวชทุกรูป และบรรดาศิษยานุศิษย์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ได้ตั้งใจสร้างถวายไว้เป็นพุทธบูชาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นสมบัติ

อันประเสริฐในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ยัง

เป็นสถานที่บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อสังคมนานับประการอีกด้วย

พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์แห่งนี้ได้ทำการฉลองเปิด

องค์พระมหาเจดีย์ไปเมื่อวันที่ 4 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และจะทำการ

สมโภชพระมหาเจดีย์ ในวันที่ 9 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ในช่วงเวลา

ทั้งสิ้น 21 วันนี้จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ และบำเพ็ญกุศลถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ทุกวัน วันละ 1,000 รูป (รวม 21,000 รูป) และเปิดพระมหาเจดีย์ฯ ทั้ง 21 ชั้นรวมทั้งชั้นใต้ดิน ให้สาธุชนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านได้เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเข้าชม

อนึ่ง ในพิธีสมโภชพระมหาเจดีย์ฯ ในครั้งนี้ คณะกรรมการผู้จัดงาน ได้รับพระกรุณาธิคุณจาก

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีสมโภชพระมหาเจดีย์
ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:00 น.
ซึ่งนำความปราบปลื้มมาสู่ คณะกรรมการผู้จัดงาน คณะศิษย์พระแม่กวนอิมตลอดจน
ประชาชนบริเวณใกล้เคียงเป็นล้นพ้น


*คัดข้อมูลมาจากเว็ปของพระตำหนักพระแม่กวนอิมโชคชัยสี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น